ประทัดดอย(Agapetes megacarpa W. W. Sm.)

Group:

ชื่อไทย : ประทัดดอย, ประทัดใหญ่, ประทัดอ่างขาง

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Agapetes parishii C.B. Clarke

ชื่อวงศ์ : ERICACEAE

การกระจายพันธุ์ : พบในจีนทางตอนใต้ (ยูนาน)และภาคเหนือของไทย ที่ดอยตุง เชียงราย และดอยภูคา น่าน

ลักษณะทั่วไป :

ขึ้นบนเขาหินปูนที่โล่ง นอกจากนี้ยังพบเป็นไม้พุ่มอิงอาศัย ในป่าดิบเขา ระดับความสูง 1000-2000 ม.ไม้พุ่มหรือไม้พุ่มอิงอาศัย สูง 1-7 ม.ใบเดี่ยวเวียนรอบข้อ รูปใบหอกหรือแกมรูปขอบขนาน ยาว 7-17 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม

โคนใบมนหรือรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้นมาก ดอกออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นหรือช่อกระจะคล้ายรูปซี่ร่มออกตามซอกใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7-8 ซม. มี 3–9 ดอกต่อช่อ ทุกส่วนมีสีแดง ก้านช่อดอกยาว 0.2-1 ซม. ก้านดอกยาว 2-2.5 ซม. ฐานรองดอกรูปลูกข่าง เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.5-0.6 ซม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันที่โคนเป็นรูปถ้วย สีแดง ยาวประมาณ 0.3 ซม. ปลายแยกเป็น 5 แฉกลึก รูปลิ่มแคบ ยาว 0.7-0.8 ซม.กลีบดอกติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ยาว 4-5 ซม. สีชมพูแดง มีเส้นกลีบสีแดง ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีเหลืองอมเขียวหรือสีครีม รูปสามเหลี่ยม ปลายโค้งบานออกเล็กน้อยยาว 0.7-1 ซม. เกสรเพศผู้ 10 อันก้านเกสรสั้น ยาวประมาณ 0.3 ซม. อับเรณูติดกัน ล้อมรอบเกสรเพศเมีย ยาว 4-5 ซม. ด้านหลังอับเรณูมีเดือย 2 อัน ยาวประมาณ 0.1 ซม. เกสรเพศเมียยาวกว่าเกสรเพศผู้เล็กน้อยก้านเกสรรูปเส้นด้าย ยอดเกสรคล้ายจาน ผลมีเนื้อหลายเมล็ดสีเขียว รูปกลมหรือรี ยาวประมาณ 1 ซม.

ประโยชน์ :

 

 

 



101 ประทัดดอย(Agapetes megacarpa W. W. Sm.)