รองเท้านารีช่องอ่างทอง(Paphiopedilum x angthong)

Group: กล้วยไม้

ชื่อไทย : รองเท้านารีช่องอ่างทอง

ชื่ออื่น :-

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paphiopedilum X angthong

เขตการกระจายพันธุ์ : พบเฉพาะในไทย เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบบนหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฏร์ธานี 

*ถิ่นกำเนิดอยู่ตามหมู่เกาะบริเวณอ่าวไทย เช่น หมู่เกาะอ่างทอง เกาะสมุย เป็นต้น ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้ คือ ปลายใบมน ด้านบนสีเขียวคล้ำประลาย ด้านใต้ท้องใบสีม่วงแก่ ก้านดอกยาวมีขน ดอกค่อนข้างเล็กขนาดไม่สม่ำเสมอ การประจุดกระจายจากโคนกลีบ พื้นกลีบดอกสีขาว กลีบค่อนข้างหนา

ลักษณะทั่วไป : เป็นลูกผสมธรรมชาติระหว่างรองเท้านารีขาวสตูลกับรองเท้านารีเหลืองตรัง ต้นคล้ายรองเท้านารีขาวสตูลมาก ใบ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายรองเท้านารีขาวสตูล ปลายใบมน ใบมีลายสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ใต้ใบสีม่วงเข้ม ดอก กลีบเลี้ยงด้านบนและกลีบดอกคู่ข้างสีขาว มีจุดประกระจายจากโคนกลีบ ก้านดอกยาว จำนวนดอกในช่อ 1 - 3 ดอก
ฤดูดอก : เมษายน - สิงหาคม

แหล่งที่พบในประเทศไทย : บริเวณหมู่เกาะอ่างทอง สมุย และตามเขาหินปูนตั้งแต่ประจวบลงไป ตามภูเขาหินปูนที่ติดชายฝั่ง ในสภาพแวดล้อมเดียวกับรองเท้านารีขาวสตูล

การปลูกเลี้ยง : กล้วยไม้รองเท้านารี ต้องการแสงประมาณ40% อาจใช้ตาข่ายพรางแสงเพิ่มความร่มรื่นได้ รดน้ำในช่วงเช้าโดยรดให้ชื้นแต่ห้ามเปียกแฉะเกินไปและให้ระวังการรดบนใบหรืดอกกล้วยไม้รองเท้านารี การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยเกร็ดสำหรับพ่นกล้วยไม้สูตรเสมอ เช่น 21-21-21 พ่นช่วงเช้า สัปดาห์ละ 1 ครั้ง วัสดุปลูกสำหรับปลูกกล้วยไม้รองเท้านารี ใช้วัสดุที่โปร่งระบายน้ำได้ดี เก็บความชื้นได้อย่างพอเหมาะ เช่นเปลือกมะพร้าวสับ หรือเม็ดดินเผาผสมหินเกร็ดขนาดเล็ก

แหล่งอ้างอิง: https://beauty13orchids.skyrock.com/2230095253-Paphiopedilum-X-ang-thong.html
 



130 รองเท้านารีช่องอ่างทอง(Paphiopedilum x angthong)