เอื้องหมายนา (Cheilocostus speciosus)

Group: ไม้พุ่ม

 ชื่อไทย : เอื้องหมายนา

ชื่ออื่นๆ : เอื้องช้าง (นครราชสีมา) เอื้อง (อุบลราชธานี) เอื้องดิน เอื้องใหญ่(ใต้) เอื้องต้น(ยะลา) เอื้องเพ็ดม้า บันไดสวรรค์

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Cheilocostus speciosus (Koen.) Sm.

ชื่อวงศ์ : COSTACEAE

การกระจายพันธุ์ : พบที่อินเดีย พม่า จีนตอนใต้ ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย นิวกินี ออสเตรเลีย ในไทยพบทุกภาค ขึ้นตามชายป่าหรือในป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าพรุ ความสูงถึงประมาณ 1400 เมตร คล้ายกับเอื้องหมายนาชนิด Cheilocostus lacerus (Gagnep.) C. D. Specht ที่ใบประดับเรียงหนาแน่นเป็นช่อกว้าง ในช่อแก่ปลายใบประดับเป็นเส้นใย

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ม้ล้มลุก มีหัวใต้ดิน สูง 1-3 ม. บางครั้งแตกกิ่ง ใบเรียงเวียน ใบด้านล่างมักลดรูป ใบช่วงบนรูปขอบขนาน รูปใบหอก หรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 15-23 ซม. ปลายแหลมยาว โคนกลม แผ่นใบด้านล่างมีขนยาวคล้ายไหมหนาแน่น ก้านใบยาว 5-7 มม. ช่อดอกออกที่ยอด รูปรี ยาว 10-15 ซม. ก้านช่อสั้น ใบประดับสีเขียวหรือน้ำตาลอมแดง รูปไข่ ปลายแหลม ยาว 1.2-2 ซม. แต่ละใบประดับมีดอกเดียว ใบประดับย่อยขนาดเล็กกว่าใบประดับ ขอบมีขนครุย หลอดกลีบเลี้ยงยาวได้ถึง 2 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน สีแดง ปลายกลีบมีขนยาวคล้ายไหม หลอดกลีบดอกยาวประมาณ 1 ซม. กลีบดอกสีขาวหรืออมชมพู รูปรี ยาว 3-5 ซม. กลีบปากแผ่ออกคล้ายรูปแตร ยาว 6.5-9 ซม. กว้าง 5.5-7.5 ซม. ด้านในมีปื้นสีเหลือง เกสรเพศผู้ยาว 2.5-4.5 ซม. ก้านแผ่กว้าง 1-1.2 ซม. โคนมีปื้นสีเหลือง มีขนสั้นนุ่ม ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. เมล็ดสีดำ ขนาดเล็ก

 



194 เอื้องหมายนา (Cheilocostus speciosus)