เอื้องแววมะยุรา(Dendrobium fimbriatum Hook)

Group:

ชื่อไทย: เอื้องแววมยุรา

ชื่อท้องถิ่น: เอื้องคำน้อย เอื้องคำฝอย

ชื่อสามัญ:

ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrobium fimbriatum Hook.

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

แหล่งกระจายพันธุ์ในไทย: ถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในประเทศไทย: ป่าดิบเขา, ป่าดิบแล้ง, ป่าเบญจพรรณ ในภาคเหนือและ ภาคตะวันตก (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) แม่ฮ่องสอน น่าน ดอยม่อนอังเกตุ ฝาง เชียงดาว สุเทพ, อุ้มผาง  ท่าขนุน ดอยสะเก็ด

แหล่งกระจายพันธุ์ในภูมิภาค: เมียนม่าร์, ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ หิมาลัย, เนปาล, สิกขิม, ภูฐาน, เขตตะวัน ออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เทือกเขาตะนาวศรีเวียตนาม, ลาว, จีนตอนใต้ (มณฑลกวางสี และยูนาน) และมีรายงาน เคยพบในมาลายา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

    ลำต้นเป็นแท่งกลมยาว 80 - 120 ซม. ใบรูปรีแกมขอบขนานกว้าง 2.5 ซม. ยาว 4  -5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อยาว20 - 250 ซม. จำนวน 20 - 25 ดอก ดอกกว้าง 4 ซม. สีส้มแกมเหลืองกลีบปากมีแต้มสีน้ำตาลแดงที่กลางกลีบ ชอบกลีบหยักละเอียด

ระยะติดดอก - ฝัก: กุมภาพันธ์-เมษายน

สภาพทางนิเวศวิทยา : การปลูกและการขยายพันธุ์ :ปลูกในกระถาง ติดแผ่นไม้ รดน้ำสม่ำเสมอ อย่าให้แฉะ วัสดุปลูกที่ใช้เช่น กาบมะพร้าวสับ หากปลูกติดกิ่งหรือลำต้นควรเลือกต้นที่มีเปลือกที่สามารถดูดซับความชื้นได้ดี ทรงพุ่มไม่หนาทึบ อากาศถ่ายเทสะดวก แดดรำไร ขยายพันธ์โดยการแบ่งกอ หรือเพาะเมล็ด

แหล่งอ้างอิง: สันติ วัฒฐานะ และคณะ. 2551. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กล้วยไม้ไทย 1. หจก. วนิดาการพิมพ์, เชียงใหม่.  http://www.orchidspecies.com/dendfimbriatum.htm http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/kew-57760



77 เอื้องแววมะยุรา(Dendrobium fimbriatum Hook)